วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ต้องคำนึงถึงคุณค่าหัวใจแห่งการเมืองระบอบประชาธิปไตย

ในช่วงครบรอบ 2ปีแห่งการขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไต้หวัน สาธารณรัฐจีน ของประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว เมื่อวันที่ 20 พ.ค. ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการเลือกตั้งผู้ว่านครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลางหรือการปรับคณะรัฐมนตรี เป็นประเด็นร้อนที่สื่อในไต้หวันให้ความสนใจเป็นพิเศษ ในขณะที่ไม่ได้ใส่ใจกับผลสำเร็จในรอบ 2 ปีที่ผ่านมาของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ ความใจซื่อมือสะอาด การฟื้นฟูเศรษฐกิจ การขยาย
การพัฒนา นโยบายเอื้อาทร ส่งเสริมสันติภาพ การประหยัดพลังงานและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

หากไม่มีการนำเอาคุณค่าหัวใจต่างๆเหล่านี้เป็นแกนนำแล้ว การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในระยะแรกก็จะกลายเป็นสิ่งที่เรียกกันว่า “ความตกต่ำทางการเมือง” จนก้าวไปสู่ “ความวุ่นวายทางการเมือง” ที่ทั้งพรรครัฐบาลแะพรรคฝ่ายค้านต่างไม่ประสงค์ที่จะพบเห็นเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ คุณค่าแห่งหัวใจของการพัฒนาประชาธิปไตยของไต้หวันอยู่ที่ตรงไหน และอะไรเป็นสิ่งที่เราจะต้องให้ความสนใจด้วยเล่า

1. การเมืองประชาธิปไตยก็คือการเมืองในระบบนิติรัฐ ในส่วนนี้ การเคารพกฏระเบียบและกฏหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐฯจึงมีความสำคัญพิเศษ ในขณะที่บุคคลชั้นนำในสังคมจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำกระแส สร้างความคิดให้มีความรู้สึกว่า การเคารพกฏหมายเป็นทัศนะและความเคยชินที่เป็นเกียรติน่าภาคภูมิใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคารพต่อระเบียบกฏเกณฑ์ในการแข่งขันทางการเมือง ยิ่งจะต้องให้ผู้คนร่วมกันเคารพและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ด้วยเหตุนี้ หากต้องการให้การเมืองมั่นคง พรรครัฐบาลกับพรรคฝ่ายค้านมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า กฏเกณฑ์ของการแข่งขันทางการเมืองเปรียบเสมือนสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายผูกมัดเป็นชีวิตและกิจกรรมร่วมกัน ไม่อาจที่จะละเลยเพื่อความสะดวกของตนเองได้ ไม่อาจที่จะทำลายกฏเกณฑ์เหล่านี้ตามอำเภอใจเพียงเพราะต้องการเป็นผู้ชนะเพียงอย่างเดียวได้

2. การเมืองประชาธิปไตยจำเป็นที่จะต้องดำรงอยู่และพัฒนาในสังคมที่มั่นคง ด้วยเหตุนี้ สังคมมั่นคงหรือไม่ การสร้างความเชื่อมั่นต่อกันในกลุ่มชน ก็เป็นปมเงื่อนสำคัญอีกบ่วงหนึ่ง ซึ่งก็คือ สังคมที่เต็มไปด้วยความเชื่อมั่นระหว่างกัน เมื่อแก้ปัญหากาเรมือง ก็ง่ายที่จะเป็นไปท่ามกลางบรรยากาศแห่งความปรองดองระหว่างกัน ง่ายที่จะทำความเข้าใจและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายผู้ปกครองต้องการที่จะดำเนินการปฏิรูปประเทศชาติทั้งระบบ เช่น การจัดทำความตกลงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจหรือ ECFA ระหว่างช่องแคบไต้หวัน หรือการแก้ไขกฏหมายการประเมินผลงานรัฐบาล น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ สร้างความเชื่อมั่นระหว่างกันให้เกิดขึ้น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันอย่างกว้างขวาง

3. นักรัฐศาสตร์ร่วมสมัยมีความเห็นว่า ท่าทีและแนวโน้มความคิดเห็นของรัฐบาลกับกลุ่มผู้กุมอำนาจจะส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาของสังคม ซึ่งก็คือจะส่งผลในลักษณะ “เป็นไปตามแฟชั่น” ด้วยเหตุนี้ การสร้างการเมืองประชาธิปไตยที่เข้มเข้ม ประชาชนจึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้กลุ่มผู้กุมอำนาจเหล่านี้ทบทวนท่าทีทางการเมืองของพวกเขาเป็นระยะๆว่า สอดคล้องกับความต้องการของประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งเป็นการใช้ความคิดที่มีเหตุมีผล มีท่าทีที่จริงใจ ซื่อสัตย์ และเข้าใจความทุกข์ร้อนของประชาชน สร้างผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในการบริหารบ้านเมือง

กล่าวโดยสรุปแล้ว การสร้างคุณค่าแห่งหัวใจของประชาธิปไตยแต่เนิ่นๆ การส่งเสริมและการทำให้เป็นจริง กล่าวได้ว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนของการเมืองประชาธิปไตยไต้หวันที่สุกงอมล่วงหน้า ในขณะที่ท่ามกลางความประสงค์ของประชาชนที่แสวงหาสิ่งใหม่ๆ และการเปลี่ยนแปลง นำพาประชาชนให้กลับไปสู่พื้นฐานแห่งการดำรงชีวิตของตน นั้น เป็นภาระกิจสำคัญประการแรกของรัฐบาล คำขวัญ “สิบปีทองก้าวไปข้างหน้า เมืองแห่งศักยภาพ ไต้หวันวินวินวิน” เป็นสิ่งที่ประชาชนกำลังจับตามองอยู่ในขณะนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น