วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ผู้นำไต้หวันแสดงความยินดีหลิว เสี่ยวโป นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนจีนแผ่นดินใหญ่คว้ารางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

นายหลัว จื้อเฉียง โฆษกทำเนียบประธานาธิบดีไต้หวัน สาธารณรัฐจีนได้ระบุในวันนี้ว่า ประธานาธิบดีหม่าอิงจิ่ว ผู้นำไต้หวันได้แสดงความยินดีต่อนายหลิว เสี่ยวโป ซึ่งคว้ารางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ผู้นำไต้หวันเห็นว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ชาวโลก หากสามารถก้าวหน้าทางด้านสิทธิมนุษยชนแล้ว ก็จะสอดคล้องกับเป้าหมาย “การเติบใหญ่แห่งสันติภาพ” มากยิ่งขึ้น และจะได้รับการยอมรับจากชาวไต้หวันและสังคมโลก นอกจากนี้ ประธานาธิบดีหม่าฯ ยังเห็นว่า การคว้ารางวัลของนายหลิว เสี่ยวโป ในครั้งนี้ มิใช่เป็นเกียรติยศส่วนตัวของเขาเท่านั้น แต่มีความหมายทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญต่อการพัฒนาสิทธิมนุษยชนของจีนแผ่นดินใหญ่ กระทั่งต่อสังคมของชาวจีนทั่วโลกด้วย นายหลัว จื้อเฉียงระบุอีกว่า ประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว ได้ระบุไว้ในสุนทรพจน์รำลึกเหตุการณ์เทียน
อันเหมิน ๔ มิถุนายน ว่า ภายใต้เงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ใหม่อย่างสมบูรณ์แบบนี้ เราหวังว่าทางการจีนแผ่นดินใหญ่จะมีทัศนะแนวคิดใหม่ต่อประเด็นสิทธิมนุษยชน แสดงออกถึงความจริงใจและความเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ แก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนที่สำคัญๆ ทีละเปราะๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป และต้องอาศัยความใจกว้างและเปิดกว้างต่อผู้ที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างจากตน ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อต่อการเสริมความน่าเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อทางการจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น แต่ยังจะสามารถทำให้ช่องแคบไต้หวันขยับใกล้เข้ามามากยิ่งขึ้นในประเด็นสิทธิมนุษยชน และยิ่งจะทำให้ผู้คนทั่วโลกเชื่อว่า การเติบใหญ่ขึ้นของจีนแผ่นดินใหญ่ ไม่เพียงแต่เป็นไปอย่างสันติเท่านั้น หากยังจะเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนที่ทั่วโลกยอมรับ

คณะกรรมพิจารณารางวัลโนเบลของนอร์เวย์ ประกาศที่กรุงออสโลในวันนี้ มอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปีนี้ ให้นายหลิว เสี่ยวโป นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในจีน วัย 53 ปี สำหรับความพยายามมาอย่างยาวนาน เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในจีน โดยไม่ใช้ความรุนแรง และถือเป็นชาวจีนคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

นายหลิว เสี่ยวโป จบด๊อกเตอร์สาขาวรรณกรรมจากมหาวิทยาลัยครูปักกิ่ง เคยได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ และนอร์เวย์ในช่วงปี 2531-2532 เมื่อเกิดเหตุประท้วงบริเวณจตุรัสเทียนอันเหมินในปี 2532 เขาจึงเดินทางกลับจีนเพื่อเข้าร่วมต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยกับเพื่อนนักศึกษาและกลายเป็น 1ใน 4ผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์นองเลือด ณ จตุรัสเทียนอันเหมิน 4 มิถุนายน และถูกจับกุมในข้อหา “ต่อต้านการปฏิวัติ” และในเดือนตุลาคม ปี 2539 เขาถูกตัดสินให้ไปใช้แรงงานแก้ไขความคิดเป็นเวลา 3 ปี หลังจากออกจากคุกสองครั้งแล้ว เขาก็ใช้ชีวิตนักเขียนอิสระอยู่ในปักกิ่ง ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายสมาคมนักเขียนภาษาจีนอิสระถึง 2 ครั้ง และในเดือนธันวาคม 2551 เขาเป็นผู้เขียน "กฎบัตร 08" และร่วมกับกลุ่มบุคคลที่มีความคิดเห็นไม่ลงรอยกับรัฐบาลจำนวน 302 คน เรียกร้องให้ทางการปักกิ่งยุติการปกครองแบบพรรคเดียว และสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบหลายพรรคขึ้นในจีน รวมทั้งให้หลักประกันแก่สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนสิทธิในการนับถือศาสนา วันที่ 9 ธันวาคม ปีเดี่ยวกัน ซึ่งเป็นคืนก่อนวันสิทธิมนุษยชนโลก “กฎบัตร 08” ถูกนำออกเผยแพร่ทางเวปไซต์แต่หลิว เสี่ยวโป ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจีนจับกุมตัวไปแล้วในวันที่ 8 ธันวาคม และถูกตัดสินลงโทษจำคุก 11 ปี ตัดสิทธิทางการเมือง 2 ปี ในข้อหา “ปลุกระดมล้มล้างรัฐบาล” เมื่อวันคริสมาสต์ปีที่แล้ว

ก่อนหน้านี้รัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ได้เตือนว่า นายหลิวฯ ซึ่งเป็นอาชญากร ไม่สมควรได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และการกระทำของนายหลิวฯ ตรงกันข้ามกับจุดประสงค์ของรางวัล และหลังจากที่คณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบลของนอร์เวย์ประกาศผลการมอบรางวัลดังกล่าว ทางการจีนมีปฏิกิริยาที่ค่อนข้างรุนแรงโจมตีว่า การตัดสินมอบรางวัลดังกล่าวเป็นพฤติกรรม “สารเลว”ที่ขัดกับหลักการของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

นายหม่า ฉาวสวี่ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนระบุผ่านเวปไซต์ของตนว่า การกระทำของคณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบลในครั้งนี้ ได้ทำร้ายความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับนอร์เวย์ และเป็นการดูหมิ่นรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น