โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกุชิมะหมายเลข 1 ที่เกิดการระเบิด ทำให้สารกัมมันตรังสีรั่วไหล |
เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ และคลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่มที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่ผ่านมา ทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด และเกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี วันที่ 13 มี.ค. คณะกรรมการพลังงานปรมาณู สภาบริหารไต้หวัน ได้ชี้แจงการเฝ้าระวังและกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณูว่า จากข้อมูลการตรวจวัดระดับรังสีจากสถานีตรวจวัดทั้ง 30 แห่งทั่วไต้หวัน พบว่าค่าระดับรังสีแกมมาสูงสุดที่วัดได้คือ 0.099 uSv/hr ที่ภูเขาอาลีซัน ส่วนค่าระดับรังสีแกมมาต่ำสุดที่วัดได้คือ 0.04 uSv/hr ที่เกาะหลันอวี่ (Orchid Island) ซึ่งเป็นเกาะที่อยู่ทางตะวันออกสุดของไต้หวัน เป็นค่าระดับรังสีแกมมาในอากาศในระดับปกติ และไม่พบเหตุการณ์ผิดปกติแต่อย่างใด นอก
จากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาไต้หวันรายงานว่า ลมที่ช่วยพัดพาสารกัมมันตรังสีออกนอกทะเลจากญี่ปุ่น มีทิศทางลมพัดไปทางทิศตะวันออก ไม่ได้พัดเข้าสู่ไต้หวันซึ่งอยู่ทางใต้ของญี่ปุ่น ฉะนั้นขณะนี้จึงไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อไต้หวัน อย่างไรก็ดีหากตรวจพบระดับรังสีในไต้หวันมีค่าเท่ากับ 0.2 uSv/hr ทางคณะกรรมการพลังงานปรมาณูจะเพิ่มมาตรการเข้มงวดในการเฝ้าระวังให้มากขึ้น และขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก และไม่ต้องวิตกว่าจะได้รับสารกัมมันตรังสี และหากมีข้อสงสัยใด ๆ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากเว็บไซด์ของคณะกรรมการพลังงานปรมาณูที่ http://www.aec.gov.tw/ ซึ่งจะมีการปรับข้อมูลการตรวจวัดทุกๆ 5 นาที
จากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาไต้หวันรายงานว่า ลมที่ช่วยพัดพาสารกัมมันตรังสีออกนอกทะเลจากญี่ปุ่น มีทิศทางลมพัดไปทางทิศตะวันออก ไม่ได้พัดเข้าสู่ไต้หวันซึ่งอยู่ทางใต้ของญี่ปุ่น ฉะนั้นขณะนี้จึงไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อไต้หวัน อย่างไรก็ดีหากตรวจพบระดับรังสีในไต้หวันมีค่าเท่ากับ 0.2 uSv/hr ทางคณะกรรมการพลังงานปรมาณูจะเพิ่มมาตรการเข้มงวดในการเฝ้าระวังให้มากขึ้น และขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก และไม่ต้องวิตกว่าจะได้รับสารกัมมันตรังสี และหากมีข้อสงสัยใด ๆ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากเว็บไซด์ของคณะกรรมการพลังงานปรมาณูที่ http://www.aec.gov.tw/ ซึ่งจะมีการปรับข้อมูลการตรวจวัดทุกๆ 5 นาที
แหล่งที่มา : Rti
วันที่ : 13 มี.ค. 2554
Photo : AFP
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น