ทบวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไต้หวันเตรียมห้ามใช้พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) และพอลิไวนิลลิดีนคลอไรด์ (PVDC)ในการผลิตและจำหน่ายฟิล์มยืดห่ออาหาร คาดว่าจะสามารถลดปริมาณการใช้ฟิล์มยืดห่ออาหารที่มีสารคลอไรด์เป็นส่วนผสมเหล่านี้ลงได้ราว 3,200 เมตริกตันต่อปี
อนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants: POPs) ระบุไว้ว่า สารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน เช่น พีซีบี (Polychlorinated Biphenyls : PCBs) และ ไดออกซิน (Polychlorinated dibenzo-p-dioxins : PCDDs) เหล่านี้เป็นกลุ่มสาร
ประกอบอินทรีย์ซึ่งถูกย่อยสลายได้ยากโดยแสงหรือสารเคมี หรือโดยชีวภาพ ทำให้เกิดการตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานานและสามารถเคลื่อนย้ายไปได้ไกลมาก และมักเกิดขึ้นจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ โดยปัจจุบันไต้หวันมีการใช้ฟิล์มยืดห่ออาหาร PVC อย่างกว้างขวาง และก่อให้เกิดสารพีซีบีหรือไดออกซินทั้งในระหว่างการบรรจุอาหารและการเผากำจัดขยะเมื่อใช้แล้ว
ประกอบอินทรีย์ซึ่งถูกย่อยสลายได้ยากโดยแสงหรือสารเคมี หรือโดยชีวภาพ ทำให้เกิดการตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานานและสามารถเคลื่อนย้ายไปได้ไกลมาก และมักเกิดขึ้นจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ โดยปัจจุบันไต้หวันมีการใช้ฟิล์มยืดห่ออาหาร PVC อย่างกว้างขวาง และก่อให้เกิดสารพีซีบีหรือไดออกซินทั้งในระหว่างการบรรจุอาหารและการเผากำจัดขยะเมื่อใช้แล้ว
นายสวี่จื้อหลุน (許智倫) หัวหน้าฝ่ายประจำสำนักบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ ทบวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเปิดเผยว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะทิ้งฟิล์มห่ออาหารที่ใช้แล้วปะปนกับขยะทั่วไป โดยปัจจุบันการกำจัดขยะเหล่านี้ในไต้หวัน จะกำจัดด้วยการเผาทำลาย แม้ว่าอุณหภูมิของการเผาขยะจะสูงเกินกว่า 800 องศาเซลเซียส แต่ระหว่างที่อากาศเสียลดความร้อนลง สารไดออกซินอาจเกิดปฏิกิริยาเคมีและคืนรูปกลับมาได้อีก ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นการเพิ่มต้นทุนของการใช้เตาเผา แต่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนอีกด้วย จึงมีการพิจารณาอ้างอิงวิธีปฏิบัติของเกาหลีใต้ ในการจำกัดการใช้ฟิล์มห่ออาหารที่มีส่วนผสมของสารคลอไรด์
นายสวี่จื้อหลุน กล่าวว่า ประเทศเกาหลีใต้ประกาศห้ามใช้ฟิล์มยืดห่ออาหาร PVC เมื่อปี 2001 และในปี 2004 ได้มีการห้ามใช้ภาชนะบรรจุและวัตถุใดๆ ที่ทำจาก PVC ในการบรรจุอาหารประเภทไข่และอาหารทอดต่างๆ
ทั้งนี้ทางทบวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะมีการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการและผู้ประกอบการ รวมทั้งหารือข้อปฏิบัติและขั้นตอนการดำเนินการด้วย โดยคาดว่าจะเริ่มมาตรการดังกล่าวอย่างเป็นทางการในปี 2013 และหลังจากมีผลบังคับใช้แล้ว ประเมินว่าแต่ละปีจะช่วยลดปริมาณสารคลอรีนที่ระเหยเข้าสู่เตาเผาลงได้ราว 1,500 เมตริกตัน หรือเทียบเท่ากับปริมาณการใช้ฟิล์มยืดห่ออาหาร 3,200 เมตริกตัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น