ไต้หวันมีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในปี 2009 มากกว่า 3,700 คน เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปี 1995 ที่มีเพียง 1,053 คน เริ่มส่งสัญญาณมีปริมาณมากกว่าความต้องการของตลาดงานในปัจจุบัน
จากแผนงานส่งเสริมการวิจัยของคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ สภาบริหารไต้หวัน แต่เดิมผู้เรียนปริญญาเอกที่มีระดับคะแนนอันดับต้นจัดอยู่ในร้อยละ 5 สามารถยื่นขอเป็นนักวิจัยกับคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมทำงานกับคณะวิจัยได้ ในปี 2008และ 2009 จากปัญหาวิกฤตการเงินโลก ส่งผลให้เกิดกระแสตกงานของผู้จบการศึกษาระดับสูง คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ จึงได้มีการเปิดกว้างข้อกำหนดรับนักวิจัยเป็นผู้ที่มี
คะแนนอันดับต้นร้อยละ 10 ทำให้มีผู้ได้รับเงินอุดหนุนจาก 965 คนในปี 2007 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 2,370 คน และในปีนี้ยังเพิ่มขึ้นอีกเป็นทั้งหมด 2,501 คน จากจำนวนคนที่เพิ่มขึ้น ทำให้คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ต้องใช้งบประมาณเพื่อการอุดหนุนบุคคลเหล่านี้จาก 863 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มเป็น1,650 ล้านเหรียญไต้หวันในปีหน้า
คะแนนอันดับต้นร้อยละ 10 ทำให้มีผู้ได้รับเงินอุดหนุนจาก 965 คนในปี 2007 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 2,370 คน และในปีนี้ยังเพิ่มขึ้นอีกเป็นทั้งหมด 2,501 คน จากจำนวนคนที่เพิ่มขึ้น ทำให้คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ต้องใช้งบประมาณเพื่อการอุดหนุนบุคคลเหล่านี้จาก 863 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มเป็น1,650 ล้านเหรียญไต้หวันในปีหน้า
เฉินเจิ้งหง(陳正宏)รองประธานคณะกรรมการวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ไต้หวันผลิตด็อกเตอร์มากเกินไป ผู้ที่เรียนจบไม่มีงานทำ จำเป็นต้องอาศัยรับเงินอุดหนุนทำงานวิจัยร่วมกับศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย เฉินเจิ้งหงระบุว่า คณะกรรมการวิทยาศาสตร์จะร่วมหารือกับกระทรวงศึกษาธิการ ให้จำกัดการเปิดชั้นปริญญาเอกของมหาวิทยาลัย โดยควรคำนึงถึงความต้องการวิจัยของผู้ประกอบการในไต้หวันเป็นหลัก ด้านเหอโจวเฟย (何卓飛) อธิบดีกรมอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการระบุว่า ปัญหาการผลิตบุคคลกรจบปริญญาเอกมากเกินไปในแต่ละปีนั้น จะทำการวิเคราะห์การแก้ปัญหา โดยชั้นเรียนปริญญาเอกต้องเปิดในมหาวิทยาลัยที่ทำงานวิจัยขนาดใหญ่เท่านั้น หากมหาวิทยาลัยทั่วไปต้องการเปิดสอน กระทรวงศึกษาธิการจะทำการตรวจสอบและประเมินอย่างเข้มงวดต่อไป
แหล่งที่มา : Rti
วันที่ : 5 ก.ย. 2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น